นี่เป็นตอนที่สอง ของบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ จุดพลิกผัน ลองอ่านกันดูครับ แล้วคราวต่อไป ผมจะมาลองวิจารณ์หนังสือเล่มนี้บ้าง
จุดพลิกผัน (2) The Tipping Point
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย นภาพร ลิมป์ปิยากร
กฎ ข้อที่สองของการเกิดจุดพลิกผัน ได้แก่ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการติด หรือความนิยม ผู้เขียนยกรายการโทรทัศน์ชื่อ "เซซามีสตรีต" มาเป็นตัวอย่าง ผู้จัดรายการนี้มีวัตถุประสงค์จะให้เด็กก่อนวัยเรียนมีโอกาสเรียนรู้และจด จำคำง่ายๆ ก่อนเข้าโรงเรียน โดยอาศัยโทรทัศน์เป็นสื่อ ผู้สร้างรายการทราบดีว่าเด็กเล็กๆ นั้นจะอยู่นิ่งๆ ไม่ได้เป็นเวลานาน และมีความสนใจต่อสิ่งรอบข้างอย่างจำกัดแต่มักชอบดูการ์ตูนและชอบดูซ้ำไปซ้ำ มา เขาจึงสร้างรายการเลียนแบบแนวคิดของการ์ตูนโดยเพิ่มการร้องเพลงและเต้นรำ เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับรายการ ผลก็คือเด็กติดรายการนั้นกันงอมแงมแถมยังสามารถจดจำความรู้ที่ได้รับจาก รายการไปใช้ให้เกิดประโยชน์เมื่อเข้าโรงเรียนอีกด้วย ผู้เขียนสรุปว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อทำให้เนื้อหามีความดึงดูดใจจนทำให้เกิดความนิยมและจดจำได้
อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ การติดบุหรี่ เป็นที่ทราบกันดีว่าบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รัฐจึงพยายามหามาตรการที่จะลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงโดยเพิ่มราคาบุหรี่และ จำกัดการโฆษณา แต่กลับพบว่ามาตรการเหล่านั้นไร้ผล การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกนพบว่าวัยรุ่นชายเกือบทุกคนหัดสูบบุหรี่เพราะ รู้สึกว่ามันทำให้ตัวเองเท่ อย่างไรก็ตามผู้สูบจำนวนมากหัดสูบบุหรี่แล้วเลิกไปเลยเพราะมีความรู้สึกว่า ความสุขที่ได้จากการสูบบุหรี่มีน้อยและรสของบุหรี่ก็ไม่เป็นที่ต้องใจนัก หนึ่งในสามของผู้เริ่มสูบบุหรี่ยังคงสูบอย่างสม่ำเสมออีกหลายปี แต่หนึ่งในสิบของคนพวกนี้จะสูบบุหรี่เฉพาะเมื่อถูกกระตุ้นเท่านั้น เช่น อยู่ในแวดวงของคนสูบบุหรี่หรือในงานสังสรรค์ พวกนี้จึงสูบเพียงเพื่อความสนุกเป็นครั้งคราว
ส่วนผู้ที่ติด บุหรี่จริงๆ คือพวกที่มีอาการขาดบุหรี่ไม่ได้ ผู้เขียนอธิบายว่ากลุ่มที่สูบเป็นครั้งคราวเพื่อความสนุกนั้นทำได้โดยไม่ ติดบุหรี่เพราะไม่เคยสูบจนปริมาณนิโคตินต่อวันถึงระดับที่ทำให้เกิดการติด นั่นคือ 5 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนกลุ่มที่ติดบุหรี่จะสูบจนถึงปริมาณการสูบข้ามเส้น 5 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้เกิดการติดบุหรี่ ผู้เขียนจึงแนะนำว่าทางแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันการติดบุหรี่ก็คือ รัฐควรออกกฎหมายบังคับให้บริษัทผลิตบุหรี่ลดปริมาณนิโคตินในบุหรี่ให้เหลือ น้อยที่สุด จนกระทั่งเมื่อสูบถึง 30 มวนต่อวัน ปริมาณนิโคตินก็ยังน้อยกว่า 5 มิลลิกรัม
ส่วนกฎข้อสุดท้ายได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ผู้เขียนใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิวยอร์กเป็นตัวอย่าง โดยกล่าวว่าตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 อาชญากรรมตามเมืองต่างๆ ของสหรัฐลดลงอย่างน่าประหลาดใจ นักอาชญาวิทยาพากันคิดว่ามันเป็นผลของปัจจัย 3 อย่าง คือ 1)การลดลงของโคเคน นักอาชญาวิทยาเชื่อว่าอาชญากรส่วนใหญ่ติดโคเคน เมื่อจำนวนโคเคนลดลงอาชญากรจึงลดลงด้วย 2)เศรษฐกิจดีขึ้นทำให้คนมีงานทำเพิ่มขึ้น อาชญากรบางคนที่ก่ออาชญากรรมด้วยความจำเป็นเริ่มมีงานทำ อาชญากรรมจึงลดลง และ 3)อายุของคนในเมืองเพิ่มขึ้น นักอาชญาวิทยามีข้อมูลที่บ่งว่าอายุของอาชญากรมักจะอยู่ในช่วง 18-24 ปี เมื่อคนกลุ่มนี้มีจำนวนน้อยลงอาชญากรจึงลดลงด้วย
อย่างไรก็ตามผู้ เขียนเห็นว่าปัจจัยทั้ง 3 อย่างนี้ไม่สามารถอธิบายการลดลงของอาชญากรรมในนิวยอร์กได้ ซ้ำร้ายสถานการณ์ในนิวยอร์กกลับวิวัฒน์ไปในทางตรงกันข้ามเพราะเศรษฐกิจของ นิวยอร์กในทศวรรษนั้นไม่ได้ดีขึ้นเหมือนในเมืองอื่นๆ ที่แย่ยิ่งไปกว่านั้นคือคนยากจนถูกตัดสวัสดิการลงพร้อมๆ กับจำนวนคนที่อายุระหว่าง 18-24 ปีก็เพิ่มขึ้นด้วย
ผู้เขียนจึงหัน ไปใช้ทฤษฎีกระจกหน้าต่างแตกของนักอาชญาวิทยา James Q Wilson & George Kelling อธิบายการเกิดจุดพลิกผันของสถานการณ์อาชญากรรมในนิวยอร์ก ทฤษฎีนี้กล่าวว่าอาชญากรรมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะความไร้ระเบียบ และอธิบายว่าถ้าเจ้าหน้าที่บ้านเมืองปล่อยให้กระจกหน้าต่างตามที่สาธารณะ แตกโดยไม่แก้ไขย่อมหมายความว่าไม่มีใครให้ความสนใจกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นั่นเป็นเสมือนการส่งสัญญาณหรือเชื้อเชิญให้เกิดการก่ออาชญากรรม นอกจากนั้น Wilson & Kelling ยังเชื่อว่าการก่ออาชญากรรมเป็นเหมือนโรคระบาด หรือแฟชั่น นั่นคือ หากไม่มีอาชญากรคนใดถูกจับได้ หรือถูกลงโทษ อาชญากรรมจะเกิดตามมามากขึ้น ผู้เขียนนำทฤษฎีทั้งสองนี้มาอธิบายการลดลงของอาชญากรรมในนิวยอร์กอย่างไร ?
ครั้ง หนึ่งนิวยอร์กเป็นหนึ่งในเมืองที่อันตรายที่สุดของอเมริกา โดยเฉพาะในระบบรถไฟใต้ดินซึ่งเป็นสถานที่เกิดอาชญากรรมบ่อยที่สุดจนทำให้ใน แต่ละปีบริการสาธารณะนี้สูญเงินถึงกว่า 150 ล้านดอลลาร์
อย่างไร ก็ตาม หลังปี 1980 สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อเทศบาลนครนิวยอร์กว่าจ้างบริษัทของ Kelling & Gunn ให้ปรับปรุงสภาพของรถไฟใต้ดิน บริษัทนี้เชื่อในทฤษฎีข้างต้นและเห็นว่ารอยขีดข่วนบนตู้รถโดยสารเป็น สัญลักษณ์ของความล้มเหลวของระบบความปลอดภัย จึงสั่งให้ลบรอยขีดข่วนจนหมดและถ้ารถคันใดมีขีดข่วนอีกก็จะไม่ปล่อยเข้าสู่ ระบบจนกว่าจะได้รับการแก้ไข นอกจากนั้นบริษัทยังขอความร่วมมือจากตำรวจในการดักจับผู้โดยสารที่โกงค่า โดยสารเพราะข้อมูลบ่งว่าเมื่อผู้โดยสารคนหนึ่งโกงค่าโดยสาร คนต่อไปที่ตั้งใจจ่ายค่าโดยสารจะเลียนแบบพฤติกรรมนั้นด้วย นอกเหนือจากนั้นบริษัทยังเสนอให้มีมาตรการประจานผู้โดยสารที่โกงค่าโดยสาร ด้วยการใส่กุญแจมือและให้ยืนอยู่ที่บริเวณชานชาลา ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการส่งสัญญาณว่าทางการกำลังเอาจริงเอาจังกับผู้กระทำ ผิดกฎหมาย ผลดีอีกอย่างหนึ่งที่ตำรวจได้รับจากการจับคนโกงค่าโดยสารคือ ตำรวจพบว่าคนเหล่านี้มักมีประวัติการทำผิดกฎหมายอย่างอื่นด้วย ส่งผลให้ตำรวจจับอาชญากรเหล่านั้นมาลงโทษได้อีกกระทงหนึ่ง ผู้เขียนสรุปว่า การทำความสะอาดตู้โดยสารและการจัดระเบียบการใช้บริการรถใต้ดินทำให้อาชญา กรรมของนครนิวยอร์กลดลงอย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยทำให้สิ่งแวดล้อมที่เคยเอื้อ อำนวยให้เกิดการก่ออาชญากรรมนั้นไม่เอื้ออำนวยอีกต่อไปจนเกิดจุดพลิกผันส่ง ผลให้อาชญากรรมโดยรวมลดลง
นอกจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพแล้ว สิ่งแวดล้อมทางสังคมก็มีส่วนทำให้เกิดจุดพลิกผันได้ ผู้เขียนใช้ผลการศึกษาทางประสาทเกี่ยวกับความสามารถในการจดจำของสมอง อธิบายว่า เหตุใดจำนวนคน 150 คนจึงเหมาะสมที่สุดสำหรับขนาดขององค์กร ผลการศึกษาพบว่าส่วนของสมองซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความทรงจำนั้นมีพื้นที่ จำกัด ฉะนั้นถ้าเราได้รับข้อมูลมากเกินไปในเวลาเดียวกัน เราจะไม่สามารถจดจำได้
ผลการศึกษานี้นำไปสู่ข้อสรุปที่สำคัญ นั่นคือ มนุษย์จะสามารถมีสัมพันธภาพได้มากที่สุดกับกลุ่มคนเพียง 150 คนเท่านั้น หากจำนวนคนในกลุ่มมีมากกว่านี้ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ตรงกันข้ามความแตกแยกอาจเกิดตามมา
ผู้เขียนได้ใช้ผลการศึกษาทาง ประสาทวิทยาเกี่ยวกับจำนวนคน 150 คนนี้มาอธิบายว่า บริษัท Gore Association ประสบความสำเร็จเพราะนาย William Gore ผู้ก่อตั้งบริษัทเชื่อในผลการศึกษาข้างต้นและจำกัดจำนวนพนักงานในแต่ละ หน่วยงานไม่ให้เกิน 150 คน
ผลก็คือพนักงานในบริษัทมีความสามัคคี และทำงานอย่างเต็มที่เพื่อผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร เพราะนโยบายนี้ Gore Association จึงเป็นบริษัทที่มีอัตราการเติบโตติดต่อกันมานานถึง 35 ปี มีอัตราการลาออกของพนักงานเพียงหนึ่งในสามของบริษัทจำพวกเดียวกัน และได้รับคะแนนเสียงจากพนักงานว่าเป็นบริษัทที่คนอยากเข้าทำงานมากที่สุด
ข้อ สังเกต - อันที่จริงจุดพลิกผันไม่ใช่ของใหม่สำหรับคนไทยเลยเพราะกระบวนการของการเกิด จุดพลิกผันนั้นไม่ต่างกับการเล่นกระดานหก หรือการใช้ตาชั่งสมัยเก่า
นั่น คือ การใส่น้ำหนักเพิ่มขึ้นที่ละน้อยๆ ลงไปทางข้างใดข้างหนึ่งของกระดานหกหรือของตาชั่ง เพียงไม่นานกระดานหกหรือตาชั่งก็จะไปตกข้างนั้น แน่นอน สำหรับคนรุ่นใหม่ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้ภาษาฝรั่ง กระบวนการนี้ไม่ต่างกับเรื่องฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้อูฐหลังหัก (The straw that breaks the camel"s back.) ความสามารถของผู้เขียนในการแยกแยะองค์ประกอบของการเกิดจุดพลิกผันและการนำ มาเสนออย่างน่าสนใจทำให้ดูเสมือนว่ากระบวนการนี้เป็นของใหม่จนฝรั่งนิยมใช้ กันจนติดปาก
ณ จุดนี้ผู้อ่านคงคิดออกแล้วว่าทำไม "ปรากฏการณ์สนธิ" จึงเป็นจุดพลิกผันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในบ้านเรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น