กลยุทธ์การแข่งขันสำหรับอนาคต
(Blue Ocean Strategy)
ในโลกของการทำธุรกิจแล้ว เมื่อพูดถึงการแข่งขัน มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนทราบกันดีก็คือ ไม่มีสินค้าตัวไหนที่จะเป็นที่นิยมได้ตลอดกาล สินค้าบางอย่างที่ขายดีในช่วงหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป ก็ไม่มีอะไรจะรับประกันได้ว่า สินค้านั้นจะขายได้ตลอดไปเช่นกัน ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ เครื่องพิมพ์ดีดแบบเดิม ที่เคยเป็นอาวุธคู่กายของนายตำรวจเกือบทุกนาย ที่ต้องมีติดตัวไว้หนึ่งเครื่อง เพื่อใช้ในการรับแจ้งความ หรือพิมพ์รายงานต่างๆ แต่ในระยะหลังนี้ๆ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะก็เริ่มเข้ามาทดแทน จนถึงปัจจุบัน เครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุค กลายเป็นอาวุธคู่กายของนายตำรวจแทนแล้ว เนื่องจากความสะดวกสบาย และความทันสมัยที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์ดีแบบเดิม ดังนั้น หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจก็คือ ต้องเสาะหากลยุทธ์การแข่งขัน ที่สามารถจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้ เพื่อที่จะทำให้สินค้าหรือบริการที่ทำอยู่นั้น สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
แนวคิดด้านกลยุทธ์นั้น มีคนเขียนถึงมากมาย หลากหลายแนวทาง แต่มีแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจมากในช่วงนี้ก็คือ กลยุทธ์ที่เรียกกันว่า Blue Ocean Strategy หรือแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ก็คือ “กลยุทธ์ทะเลฟ้า” แนวคิดของ
สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดของกลยุทธ์นี้ก็คือ ผู้เขียนได้แบ่งสีของน้ำทะเลออกเป็นสองสี คือ ทะเลแดง (Red Ocean) และ ทะเลฟ้า (Blue Ocean) ทะเลแดงนั้น เป็นตัวแทนของการแข่งขันแบบเดิมๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีแนวคิดหลัก ก็คือ การห้ำหั่นกันในตลาดเดิมๆ ที่มีผู้ร่วมแข่งขันมากมาย มุ่งเอาชนะกัน โดยสินค้าและบริการของแต่ละแห่งก็เหมือน หรือ คล้ายกันจนแทบแยกไม่ออก วันๆ ไม่ทำอะไรได้แต่คอยจ้องว่าอีกฝ่าย ทำอะไรบ้าง สินค้าและบริการของคู่แข่งเป็นอย่างไร เมื่อคู่แข่งออกสินค้าหรือบริการอะไรใหม่ออกมา เราก็จะต้องทำตามและออกมาบ้าง เพื่อไม่ให้น้อยหน้าคู่แข่ง การแข่งขันแบบนี้ อาจใช้คำว่าแข่งขันกันจนเลือดสาด จนทำให้น้ำทะเลกลายเป็นสีแดงฉานไปหมด ซึ่งไม่มีใครได้ประโยชน์ มีแต่เจ็บตัวไปตามๆ กัน
ทีนี้เรามาดูเจ้า ทะเลฟ้า (
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนของกลยุทธ์แบบ ทะเลแดง (Red Ocean) ที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ของเราก็คือ ธุรกิจของฝาก ซึ่งนครสวรรค์นั้น เป็นที่รู้จักกันไปทั่วประเทศว่า ถ้าผ่านนครสวรรค์แล้ว ของฝากติดไม้ติดมือที่ขาดไม่ได้ก็คือ ขนมโมจิ เมื่อทุกคนคิดแบบนี้ ทุกวันนี้ เราจึงเห็นโมจิยี่ห้อต่างๆ เกิดขึ้น มากมายเต็มไปหมด มากมายเสียจนจำชื่อสินค้าของร้านบางร้านไม่ได้ คนที่เดินทางผ่านนครสวรรค์หลายคนบอกว่า ผ่านมาแล้ว ขอให้มีชื่อว่า “โมจิ นครสวรรค์” เท่านั้นพอ ส่วนจะเป็นของค่ายไหน ไม่สนใจแล้ว ลักษณะการแข่งขันแบบนี้ จัดว่าอยู่ในประเภท “ทะเลแดง” คือ ทุกคนเข้าห้ำหั่นกันด้วยสินค้าเดียวกัน ราคาเท่ากัน และแข่งขันกันแบบที่สุดท้าย ทุกคนก็จะเจ็บตัวกันไป กำไรก็คงไม่มากนัก เนื่องจากมีคู่แข่งมากมายเต็มไปหมด
ถ้าหากจะนำกลยุทธ์แบบ ทะเลฟ้า (Blue Ocean) มาปรับใช้กับธุรกิจของฝากแล้ว แนวคิดหนึ่งที่จะทำได้ก็คือ การพัฒนารูปแบบของโมจิ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น มีการปรับรูปแบบของกล่องให้ทันสมัย และมีการออกรสชาติใหม่ๆ ตลอดเวลา เช่นในเทศกาลกินเจ อาจจะมี “โมจิ เจ” ออกมา ในช่วงตรุษจีน อาจจะมี “โมจิ เก้ามังกร” หรือ ในช่วงวันแม่ ก็มี “โมจิ สำหรับคนรักแม่” หรือ อาจมี “โมจิ สำหรับคนไกลบ้าน” เพื่อให้คนนครสวรรค์ที่ไปทำงานอยู่ต่างจังหวัดได้ซื้อก็ได้ ที่น่าสนใจมากขึ้นไปอีก ก็อาจจะเป็น “โมจิ ออนไลน์” ที่สามารถซื้อผ่านอินเตอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมงเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นการใช้กลยุทธ์แบบ ทะเลฟ้า ที่ทำให้เราสามารถโดดเด่นเหนือคู่แข่ง และทำให้ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งล้าสมัยไปเลย
อีกตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จในการสร้างตลาดใหม่ตามแนวทางของ ทะเลฟ้า ที่เห็นได้ชัดก็คือ การกำเนิดของตลาด “ชาเขียว พร้อมดื่ม” ซึ่งก่อนหน้านั้น ไม่มีใครเคยคิดว่า ตลาดจะมีขนาดใหญ่เป็นพันๆ ล้านแบบนี้ แต่ โออิชิ ก็สามารถสร้างตลาดขนาดใหญ่นี้ขึ้นได้ โดยผลของการสร้างตลาดแบบนี้ ได้ไปเบียดบังตลาดของเครื่องดื่มอย่าง “โค๊ก” และ “เป็ปซี่” จนทำให้ทั้งสองค่ายต้องออกชาเชียวมาสู้ด้วย นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า หาก ตอนนั้น “โออิชิ” จะทำเครื่องดื่มรส “โคล่า” ออมาสู้กับสองค่ายเดิมแล้ว ไม่มีวันชนะแน่นอน
ยังมีคำแนะนำดีๆ ในหนังสือเล่มนี้อีกมามายที่เป็นประโยชน์ แต่หัวใจสำคัญที่สุดของหนังสือเล่มนี้ก็คือ จงอย่ากระโดดเข้าไปแข่งขันกับคู่แข่งโดยตรงเด็ดขาด เพราะการทำเช่นนั้น ได้ไม่คุ้มเสีย สิ่งที่ควรทำที่สุดก็คือ จงวิเคราะห์คู่แข่งให้ละเอียดเพื่อหาจุดเด่นและจุดด้อยของคู่แข่งให้พบ หลังจากนั้น ก็พัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ขึ้นมา ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงกว่า และดีกว่า ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกันก็ได้ แต่ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ว่า สินค้าของอีกฝ่ายนั้น ไร้ค่าไปทันที
คราวหน้า ถ้ามีแนวคิดอะไรที่น่าสนใจอีก จะนำมาบอกเล่ากันอีกนะครับ สวัสดี